อุปกรณ์นิวเมติกส์ มีชื่อเสียงในด้านความสะอาดและการส่งเสียงที่ดัง อย่างไรก็ตาม อากาศที่ได้จากคอมเพรสเซอร์อาจมีความร้อน ความชื้น และความสกปรก ซึ่งอาจทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ปลายทางลดลงอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น จำเป็นต้องกำจัดน้ำมัน หยดน้ำ และสารปนเปื้อนอื่นๆออกไป
วาล์วและกระบอกสูบอาจเสื่อมสภาพตามการใช้งานเป็นเวลานาน ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ที่ลงทุนมากในโครงการ ดังนั้น การลงทุนในน้ำมันหล่อลื่น ตัวควบคุม และตัวกรอง (FRL) ที่ช่วยให้อากาศสะอาดและหล่อลื่นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาการทำงานที่เสถียรในทุกสถานการณ์
ชุดกรองลม คืออะไร // What is an FRL System?
ชุดกรองลม หรือ FRL Unit ประกอบด้วย ชุดกรองลม (Filter) ชุดปรับแรงดันลม (Regulator) และชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) คือ อุปกรณ์ Air Preparation / Treatment Units ที่รับหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพของลม กรองฝุ่นและดักน้ำที่ออกมาจากปั๊มลมก่อนที่ลมอัดจะเข้าสู่ภายในระบบ โดยปกติแล้ว อากาศที่ถูกจ่ายโดยคอมเพรสเซอร์มักมีการปนเปื้อน มีแรงดันสูงหรือตํ่าเกินไปสําหรับการใช้งาน และไม่ได้รับการหล่อลื่นอย่างเหมาะสม สิ่งนี้ส่งผลให้เครื่องจักรหรือเครื่องมือในไลน์ไม่สามารถทำงานเต็มศักยภาพและมีอายุการใช้งานสั้น และนี่คือจุดที่ FRLs เข้ามามีบทบาทในการช่วยป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์โดยการควบคุมคุณภาพของลมที่ถูกจ่ายจากแหล่งต้นทาง
เลือกดูสินค้าชุดกรองลมที่เราจำหน่าย
ทางโรงงานควรพิจารณาติดตั้งชุดเตรียมลมเมื่อ:
- มีการมีใช้อุปกรณ์นิวเมติกส์
- มีการติดตั้งระบบปรับอากาศ HVAC
- มีความจําเป็นต้องใช้อากาศที่สะอาดหน้างาน
- มีความจําเป็นต้องปฏิบัติตาม ISO OSHA ASHRA หรือมาตรฐานอื่นๆ
- มีความต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพลม เพิ่มประสิทธิภาพของสายการผลิต ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบ
ส่วนประกอบของชุดกรองลม
F.R.L. Air Treatment Unit หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุดกรองลมดักนํ้า ประกอบด้วย ชุดกรองลม (Filter), ชุดปรับแรงดันลม (Regulator) และ ชุดจ่ายน้ํามันหล่อลื่น (Lubricator) แต่ละหน่วยเหล่านี้สามารถประกอบรวมกันเป็นหน่วยหรือแพ็คเกจเดียวเพื่อให้แน่ใจว่าอากาศในระบบนิวเมติกส์นั้นสะอาด นอกจากนี้ยังสามารถใช้แต่ละองค์ประกอบแยกกันได้ เมื่อใช้ฟิลเตอร์ เรกกูเรเตอร์ และลูบริเคเตอร์ที่เหมาะสมในระบบนิวเมติกสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของไลน์การผลิต ยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ดาวน์สตรีม ลดการสูญเสียพลังงานและทรัพยากรโดยการควบคุมอัตราการจ่ายของอากาศและน้ำมันหล่อลื่นอย่างแม่นยำ
องค์ประกอบสามประการในยูนิตชุดกรองลม FRLs
F : Filter (ชุดกรองลม)
R : Regulator (ชุดปรับแรงดันลม)
L : Lubricator (ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น)
ตัวกรองลม (Filter)
ตัวกรองหรือฟิลเตอร์เป็นด่านหรือขั้นตอนแรกในการทำความสะอาดลมอัด (Compressed Air) หลังจากที่ลมถูกจ่ายออกมาจากคอมเพรสเซอร์ หลังจากลมอัดออกจากปั๊มลมแล้ว ลมจะไหลผ่านตัวกรองที่จะทําหน้าที่ขัดแยกของเหลวหรือสิ่งปนเปื้อน เช่น สนิม ฝุ่น นํ้า และนํ้ามัน
ตัวกรองแบ่งออกเป็นสามประเภท (Types of Air Filters):
ตัวกรองแบบโคอะเลสซิง หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Coalescing / Condensate Filters ใช้วัสดุประเภทหนึ่งดูดละอองและอนุภาคละเอียดอื่นๆ ออกจากอากาศ อนุภาคไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะรวมตัวกันบนตัวกรองจนกระทั่งมวลมีนํ้าหนักมากพอจนหยดลงไปในชามระบายน้ำหรือ Drainage Bowl ตัวกรอง Coalescer ถูกใช้เพื่อแยกของเหลวที่มีวัสดุฐานเป็นปิโตรเลียม เช่น น้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันเชื้อเพลิง และดีเซล โดยการแยกน้ำออกจากสื่อ
ตัวกรองเอนกประสงค์ หรือ General Purpose Filter ทำงานโดยอาศัยหลักการแรงสู่ศูนย์กลาง (Centripetal Force) หรือแรงไซโคลน (Cyclonic Force) โดยที่อนุภาคของแข็ง เหลว ละออง หรือก๊าซ จะถูกคัดแยกออกจากอากาศอัดโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ในขณะที่ลทถูกป้อนเข้ามาที่ชุดกรองลม อนุภาคไม่พึงประสงค์จะเคลื่อนที่ไปตามผนังของฟิลเตอร์ที่เป็นรูปทรงกระบอก ทำให้เกิดไหลแบบหมุนวน และก่อตัวเป็นกระแสหมุนวน (Vortex) ขณะที่อนุภาคถูกเหวี่ยงอยู่ในกระแสหมุนวนจะเกิดแรงในแนวสัมผัส (Tangential Force) ที่จะผลักให้อนุภาคเคลื่อนตัวออกจากศูนย์กลางกระแสวนออกสู่ผนังฟิลเตอร์ ด้านล่างของตัวเรือนฟิลเตอร์ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวยแบบบีบเข้าที่ปลายทางออกจะทำให้การไหลของกระแสวนมีการเปลี่ยนทิศทางสวนทางย้อนกลับขึ้นด้านบน ด้วยความต่างของความหนาแน่นของของลมอัดและอนุภาค อนุภาคที่ไม่พึงประสงค์จะถูกผลักลงสู่ทางออกทางด้านล่าง และของไหลที่ปราศจากอนุภาคของแข็งจึงไหลออกที่ทางออกด้านบนของไซโคลน
ตัวกรองดูดซับน้ำมัน ตัวกรองแบบกำจัดไอระเหย หรือตัวกรองแบบดักละออง อย่าง Oil Vapour Removal Adsorbing Filters ได้รับการออกแบบเพื่อกำจัดไอระเหยออกจากท่ออากาศที่ไม่สามารถกำจัดออกด้วยตัวกรอง Coalescing Filter ได้ Oil Removal Adsorbing Filters แต่อย่างไรก็ตาม ตัวกรอง Adsorbing Filter ควรมีตัวกรองงอนุภาค (Particulate Filter) และตัวกรอง Coalescing ติดตั้งก่อนหน้าผลิตอากาศที่แทบไม่มีน้ำมันและไฮโดรคาร์บอนตามที่ข้อกำหนดของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวัด เป็นต้น
ตลับ Cartridges ของตัวกรองนั้นประกอบด้วยถ่านกัมมันต์หรือ Activated Carbon เพื่อช่วยดูดซับไอไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Vapors) และกลิ่นจากแอลกอฮอล์ เอสเทอร์ และคีโตน (Odors from Alcohols, Esters, and Ketones) แถมยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมอย่าวชามหรือถ้วย (Bowl) ที่มีความจุสูงกว่าซึ่งช่วยให้อากาศไหลเวียนได้มากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ชุดปรับแรงดันลม (Regulator)
ตัวปรับแรงดัน อย่าง Regulator เป็นส่วนที่สองของชุดกรองลมดักน้ำซึ่งทำหน้าที่ควบคุมแรงดันของอากาศอัดตามความเหมาะสมของการใช้งาน โดยใช้แผ่นไดอะแฟรมและสปริงเป็นกลไกการทำงานภายในเพื่อลดหรือเพิ่มแรงดันลมอัด หน้าที่หลักของเรกกูเลเตอร์ก็คือการปรับแรงดันจ่ายให้อยู่ในระดับที่ต้องการเพื่อให้อุปกรณ์นิวแมติกส์ดาวน์สตรีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยปกติแล้ว แรงดันของลมอัดที่ถูกจ่ายออกจากคอมเพรสเซอร์นั้นสูงเกินไปสำหรับส่วนประกอบในระบบนิวแมติกซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์แตกหักหรือมีอายุการใช้งานสั้นลง ตัวปรับแรงดันจะมีปุ่มหมุนเพื่อปรับแรงดันลมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อรักษาความดันอากาศในระบบให้คงที่ ไม่ผันผวน ตัวควบคุมจะมีสปริงควบคุมที่ทำหน้าที่บนแผ่นไดอะแฟรมเพื่อควบคุมความดันอากาศโดยการเปลี่ยนค่าแรงการบีบอัดของสปริงหลักด้วยปุ่มปรับ
Pressure Regulators มักถูกเรียกอีกอย่างว่า PRVs (Pressure-Reducing Valves / Relief Valves) หรือ วาล์วลดแรงดัน ทำหน้าที่ลดแรงดันวัดแรงดันที่ด้านขาออกจากวาล์ว ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ.นอกจากจะทําหน้าที่ลดและควบคุมแรงดันอากาศในระบบอัดอากาศรวมถึงเครื่องอัดอากาศแบบโรตารีสกรูหรือเครื่องปั๊มลมสกรูโรตารี่ (Rotary Screw Air Compressors)
เรกกูเลเตอร์ถูกใช้ใน (Pressure Regulator Applications):
- ปืนเป่าลม (Blowguns)
- แบริ่งลม (Air Bearings)
- มอเตอร์ลม (Air Motors)
- กระบอกลม (Air Cylinders)
- เครื่องมือนิวเมติก (Air Tools)
- วาล์วแบบลอจิก (Logic Valves)
- อุปกรณ์ฉีดพ่น (Spraying Devices)
- ระบบฟลูอิดิก/ของไหล (Fluidic Systems)
- อุปกรณ์เกจตรวจวัดอากาศ (Air Gauging Equipment)
- ระบบหล่อลื่นแบบสเปรย์ละออง (Aerosol Lubrication System)
ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator)
ตัวจ่ายสารหล่อลื่น ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น หรือ Lubricator ทําหน้าที่จ่ายน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมหลังจากที่อากาศอัดถูกบําบัดให้สะอาดแล้ว เพื่อลดแรงเสียดทานของส่วนประกอบที่มีการเคลื่อนที่หรือทํางานและเพื่อปกป้องส่วนประกอบปลายทางจากการเสียดสี
ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่นจะต้องได้รับการบำรุงรักษาและมีการเติมน้ำมันใหม่เมื่อน้ำมันเหลือน้อย การดูระดับของสารหล่อลื่นที่คงเหลืออยู่นั้นง่ายนิดเดียว สามารถตรวจสอบได้ผ่านการมองช่องกระจกที่อยู่บนตัวเรือน ตัวจ่ายสารหล่อลื่นต้องการแรงดันที่แตกต่างกัน (Pressure Differential) เพื่อทำให้น้ำมันหยดลง ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องสร้างแรงดันตกคร่อม (Pressure Drop) ที่ปลายทาง แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อให้แน่ใจว่าแรงดันที่เหมาะสมจะไปถึงส่วนประกอบสุดท้ายเพื่อการทํางานที่ไหลรื่น นี่หมายความว่าอากาศจะไม่ถูกหล่อลื่นหากระบบปิดอยู่ ซึ่งทำให้ไม่เปลืองน้ำมัน ควรสังเกตว่าส่วนประกอบเกี่ยวกับนิวแมติกส์หลายชนิดสามารถหล่อลื่นด้วยตนเองได้และไม่ต้องการการหล่อลื่นอะไรเพิ่มเติม
ประเภทของตัวจ่ายสารหล่อลื่น (Types of Airline Lubricators):
- Oil-Fog
- Micro-Fog
อ้างอิง: Tameson, ScienceDirect, Master Pneumatic, Flu-Tech
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา:
02-384-6060 info@factocomponents.co.th @134ovdbx